วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

จังหวัดสกลฯ ระดมพลซ้อมแผนรับมือหวัดนก-หวัดใหญ่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2552 12:35 น.
สกลนคร - จังหวัดสกลนครซ้อมแผนป้องกันแก้ไขปัญหาการระบาดไข้หวัดนก
และไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำลองเหตุการณ์สมมติ พื้นที่
อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร เตรียมความพร้อมของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง
หากเกิดเหตุการณ์จริง สามารถที่จะปฏิบัติการได้ทันท่วงที

จังหวัดสกลนครระดมกำลังฝึกซ้อมแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดใหญ่
ของโรคไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยมี นายสมบัติ
ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
เป็นประธานในการเปิดการซ้อมแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดไข้หวัดนก
และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

ทั้งนี้ ได้จำลองเหตุการณ์สมมติพื้นที่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
เตรียมความพร้อมของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง
หากเกิดเหตุการณ์จริงสามารถที่จะปฏิบัติการได้ทันท่วงที

โดยเหตุการณ์สมมตินี้เริ่มจากมีข่าวการตายผิดปกติของสัตว์ปีก
และมีคนป่วยต้องสงสัย ใน อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
จังหวัดจึงได้ประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติ
เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเริ่มเคลื่อนไหว ตั้งแต่เจ้าหน้าที่
อปพร.ตั้งด่านตรวจการเข้าขออกหมู่บ้าน
การประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับชาวบ้านผ่านทางรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
หอกระจายข่าว เสียงตามสาย การประชุมกรรมการหมู่บ้าน
และการรายงานสถานการณ์เข้ามายังจังหวัด
เพื่อให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ออกไปฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ทำลายซากสัตว์
กำหนดเขตปลอดเชื้อโรค

รวมถึงเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.
ลงไปดูแลผู้ป่วย นำผู้ป่วยเข้ารับการรักษา การซ้อมครั้งนี้
เป็นการซ้อมแผนในที่บังคับการโดยใช้ จังหวัดทหารบกค่ายกฤษสีวะรา จ.สกลนคร
เป็นสถานพยาบาลฉุกเฉิน เพื่อให้บุคลากร
ในหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไข
ได้ร่วมประสานการปฎิบัติอย่างใกล้ชิด สร้างความคุ้นเคย
เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง จะสามารถลดความรุนแรงของภัยได้
อันเป็นการปฎิบัติโดยยึดแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดใหญ่ของโรค
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และไข้หวัดนกจังหวัดสกลนครเป็นหลัก

ภายหลังเสร็จสิ้นการซ้อมแผน นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ได้เป็นประธานในการสรุปผลการซ้อมแผนโดยได้มอบ
แนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับระดับและระยะการระบาดขององค์การอนามัยโลก
โดยกำหนดบทบาทหน้าที่เป็น 8 ภารกิจหลัก ได้แก่ การประสานสั่งการ
การเตรียมพร้อมด้านปศุสัตว์ การเตรียมพร้อมด้านสาธารณสุข
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การคมนาคม ขนส่ง เดินทางและการข้ามแดน
การรักษาความมั่นคงและบรรเทาทุกข์
ความร่วมมือพหุพาคีและความร่วมมือระหว่างประเทศ
และการรักษาความต่อเนื่องของบริการสาธารณะและธุรกิจ

อย่าง ไรก็ตาม
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างไปบ้างจากที่ได้จัดทำไว้
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมได้เมื่อเกิดสถานการณ์จริง

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000060871

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น